คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับเรื่องฉนวน

ค่าต่างๆ ที่ระบุไว้ใน Spec ของฉนวนกันความร้อน

ความสามารถในการต้านทานความร้อน (Resistivity, R)

ความสามารถในการต้านทานความร้อน (Resistivity, R)

ค่าการต้านทานความร้อน หรือ ค่า "R-Value" จะเป็นค่า ที่บอกถึงอัตราส่วนระหว่าง ความหนาของวัสดุตามแนวที่ความร้อนไหลผ่าน กับความสามารถในการนำความร้อนของวัสดุ กรณีที่วัตถุซ้อนกันหลายชั้น ค่าความต้านทานความร้อนรวม จะเท่ากับผลบวกของค่าความต้านทาน ความร้อนของวัสดุที่กำหนดแต่ละชั้นรวมกัน และ ค่าการต้านทานความร้อนจะมีความสัมพันธ์กับ ค่าการนำความร้อนแบบเป็นส่วนกลับกัน กล่าวคือ ถ้าค่าการต้านทานความร้อนสูง วัสดุนั้นก็จะมีค่านำความร้อนต่ำ

ยิ่งค่า R มาก(กันความร้อนได้มาก) ยิ่งแสดงถึง ความเป็นฉนวนที่ดีของวัสดุนั้นๆ

ความสามารถในการนำความร้อน (Conductivity, K)

ความสามารถในการนำความร้อน (Conductivity, K)

การนำความร้อน หรือ ค่า “K–Value” สามารถบอกถึง ความสามารถในการนำความร้อนของวัสดเพียงชนิดเดียว โดยวัดค่าในรูปของอัตราปริมาณความร้อนไหล ต่อหน่วยเวลา จากจุดระยะทางหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่ง ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันต่อหน่วยพื้นที่หน้าตัดที่ไหลผ่าน

ยิ่งค่า k น้อย (ความร้อนผ่านได้น้อย) ยิ่งแสดงถึงความเป็นฉนวนที่ดีของวัสดุ

ความจุความร้อน (Thermal Capacity)

ความจุความร้อน (Thermal Capacity)

ค่าความจุความร้อนของวัสดุ จะไม่สามารถบอกได้โดย ตรงว่าควรจะมีค่ามากหรือน้อยจึงจะดี เพราะถ้าความจุ ความร้อนน้อย การส่งผ่านความร้อนสู่ภายในจะมากและ ส่งผ่านได้เร็ว ซึ่งจะเหมาะกับส่วนที่มีการใช้งานเฉพาะ กลางคืน แต่ในทางกลับกันการที่สามารถเก็บความร้อน ไว้ในตัวเองได้มาก ความร้อนที่ส่งผ่านต่อมายังในอาคาร ก็จะน้อยลง หรือส่งผ่านได้ช้าลง (Time Lag) ซึ่งเหมาะกับบริเวณที่ใช้งานเฉพาะกลางวัน จะเห็นว่าการส่งผ่านความร้อน เนื่องจากค่าความจุความร้อนของวัสดุนั้น มีความเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม

ข้อควรคำนึงในการพิจารณาเลือกฉนวนกันความร้อนสำหรับบ้าน

การเลือกการป้องกันความร้อน โดยพิจารณาที่ค่าต้านทานความร้อน (ค่า R)

สูตรค่า R = ความหนาของวัตถุ (T) cm. / ค่าการนำความร้อน (K)

ไม่ควรดูเฉพาะ ค่าการนำความร้อน (K) เฉพาะวัสดุเพราะความหนามีผลต่อการป้องกันความร้อนจากบ้านนั่นคือ ฉนวนยิ่งหนายิ่งกันความร้อนได้มาก

img img img img img